พรรคไทยสร้างไทย นำโดย ฐากร ตัณฑสิทธิ์อภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 โดยชี้ให้เห็นว่า กุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การทำให้งบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุดคือ การจัดเรียงลำดับแผนยุทธศาสตร์ โครงการให้เป็นไปตามความจำเป็นเร่งด่วน
“งบลุงทุนไม่เพียงพอ”
ฐากร เห็นว่า งบลงทุน ปี2567 อาจยังไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาคนการพัฒนาประเทศ พร้อมสอบถามนายกรัฐมนตรีว่า งบลงทุนใหม่ที่รัฐบาลได้จัดในปี2567นั้น แท้จริงแล้วเท่าใด บางส่วนเกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากรัฐบาลที่แล้วหรือไม่ เพื่อนำมาพิจารณาว่า ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา จะสามารถขับเคลื่อนนโยบายได้จริงหรือไม่
“จัดงบแบบ 3 ขาด”
นายฐากร ชี้ให้เห็นด้วยว่างบรัฐบาล จัดงบในปี 2567 เป็น “งบแบบ 3 ขาด” เพราะรัฐไม่ได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนใหม่ เช่น งบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่จะนำมาดูแลผู้สูงอายุซึ่งประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแบบเต็มขั้น โดยเป็นงบประมาณรวม กว่า 25,000 ล้านบาท แต่พบว่าเป็นงบลงทุนเพียง 1,900 ล้านบาทเท่านั้น หรือ เพียง 7.79%เท่านั้น
เช่นเดียวกับกระทรวงศึกษาธิการ งบประมาณรวมกว่า 320,000 ล้านบาท แต่พบว่าเป็นงบ ลงทุนเพียงกว่า 13,000 ล้านบาทเท่านั้น หรือคิดเป็น 4.12 % ทั้งที่เราควรมุ่งเน้น การแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาของประเทศไทยให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะ ผลการทดสอบคะแนน Pisaของไทย ตกต่ำลงมาต่อเนื่อง จนอยู่ในระดับท้ายๆของอาเซียน
และอีกหนึ่งขาดคือกระทรวงสาธารณสุข งบประมาณรวมกว่า 160,000 ล้านบาท แต่เป็นงบลงทุนเพียงกว่า 13,000 ล้านบาท หรือ 8.43เท่านั้น
“จัดงบ แบบ3เกิน “
นายฐากรชี้ให้เห็นด้วยว่า บางกระทรวงที่สำคัญต่อการพัฒนาคนได้งบประมาณลงทุนน้อยนิด แต่กลับมีบางกระทรวงที่ได้งบ “ส่วนเกิน 3เกิน “
ประกอบด้วยงบของกระทรวงคมนาคม พบว่าเป็นงบลงทุน กว่า 170,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น93.63% ของบประมาณที่ได้รับ
ไม่ต่างจากงบของกระทรวงมหาดไทยของพรรคร่วมรัฐบาล พบเป็นงบลงทุนกว่า 110,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 32.88% ของงบประมาณที่ได้รับ
ขณะที่ งบกระทรวงกลาโหม เป็นงบลงทุนกว่า 45,000 ล้านบาทหรือคิดเป็น 22.92% ของงบประมาณที่ได้รับ จึงเห็นว่างบส่วนใดที่สามารถ ชะลอได้ ควรขยายเวลาในการดำเนินการออกไป เพื่อนำเงินส่วนดังกล่าว มาใช้ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์สูงสุดและมีประสิทธิภาพต่อประชาชนก่อน
“จัดงบแบบ1 พอได้”
ฐากร เห็นว่า ขณะเดียวกันรัฐยังจัดงบแบบ 1พอได้ คืองบ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นงบลงทุนกว่า 84,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 71.32% ของงบประมาณที่ได้รับ โดยในส่วนของงบดีงกล่าว ขอให้งบที่ลงไปในแต่ละจังหวัดเกิดความเป็นธรรม และรัฐบาลควรออกมาชี้แจง เกณฑ์การจัดสรรงบประมาณเพื่อให้เกิดความโปร่งใส เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกรทุกภาคส่วนของประเทศอย่างแท้จริง
“3 ขาด 3 เกิน 1 พอได้ อาจสร้างความเหลื่อมล้ำ”
ฐากร สรุปว่า 3 ขาด 3 เกิน 1 พอได้จะสร้างความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส ทำให้สังคมแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น เพราะขาดการพัฒนามนุษย์ขาดการพัฒนาด้านการศึกษา งบประมาณมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านวัตถุ จะทำอย่างไรเพื่อให้พี่น้องประชาชนมีรายได้อย่างมั่นคง อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงขอให้นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล มีการปรับเปลี่ยนในชั้นกรรมาธิการ เพื่อให้การใช้งบประมาณมีประสิทธิภาพ มีประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน