1) นโยบายเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change)
• ผลักดันให้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ บังคับให้มีการเปิดเผยและจัดส่งข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายโรงงาน ก๊าซเรือนกระจกสูงตามที่กำหนด โดยรัฐต้องช่วยให้ความรู้ทางเทคนิค
• บังคับใช้การเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax)
2) นโยบายการจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5
ประกอบด้วย 2 มาตราการ คือ
• มาตรการด้านการเกษตร
ส่งเสริมให้เกษตรใช้เครืองมือแทนการเผาป่าเผาไร่ และให้เกษตรกรปลูกไม้ยืนต้น ไม้ป่า ไม้หายาก เพื่อทดแทนการเกษตรที่ต้องเผาตอซัง ส่งเสริมการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง (Wet & Dry) ช่วยลดก๊าซมีเทนในดิน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
• มาตรการด้านการจราจร การขนส่งสาธารณะ และการเดินทาง
ออกมาตรการทางภาษีให้สิทธิลดหย่อนภาษี และการหักค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ประกอบการที่สนับสนุนนโยบาย “สลับ-เหลื่อมเวลาการทำงานและเวลาเรียน” และนโยบาย “Work from home หรือ Learn from home”
รวมทั้งออก “โครงการสร้างไทยมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า” สามารถกู้เงินดอกเบี้ยต่ำไม่เกิน 5% ต่อปี ซื้อมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าได้จำนวน 1 ล้านคัน เพิ่มการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ โดยผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า EV
3) นโยบายติดตั้ง Solar Rooftop ให้ฟรี และให้ใช้ไฟฟรี
• รัฐเป็นผู้ลงทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการติดตั้ง Solar Rooftop ให้กับประชาชน การดำเนินการจะกระทำผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยการไฟฟ้าฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาระบบ และทำการติดตั้งระบบบนหลังคาบ้านของประชาชนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ
เงินลงทุนทั้งหมดจะมาจากงบประมาณของรัฐไปยังกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 เป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำที่กองทุนปล่อยกู้ให้การไฟฟ้าฯ ซึ่งการไฟฟ้าฯ จะต้องส่งคืนเงินต้นให้กองทุนในระยะเวลาไม่เกิน 7 ปี
สำหรับรายได้หลักของการไฟฟ้าฯ ก็คือค่าไฟฟ้าที่ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาผลิตได้ เฉพาะส่วนที่เกินจาก 210 หน่วย ที่ประชาชนมีสิทธิ์ใช้ไฟฟรี
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย