[“ศิธา” ผุดไอเดีย “#ธรรมนูญประชาชน” เป็นหลักประกัน ป้องกันการรัฐประหาร เอาผิดย้อนหลังคนทำในวันที่ประเทศเป็นประชาธิปไตย หนุนเดินหน้าแก้รายมาตรา ในประเด็นที่เป็นปัญหา เพื่อให้มีรัฐธรรมนูญใหม่ทันการเลือกตั้งครั้งหน้า]

ข่าวสาร

น.ต.ศิธา ทิวารี แกนนำพรรคไทยสร้างไทย

ร่วมเสวนา ภายใต้หัวข้อ “กับดักรัฐธรรมนูญ กับการเมืองไทย” ที่จัดขึ้นโดยคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยเห็นว่าคนเขียนรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มีความชำนาญ จึงเขียนออกมาเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพราะเป็นการเขียนรัฐธรรมนูญ ให้ออกมาสองหน้า ซึ่งอำนาจการตัดสินใจเป็นของบุคคล หรือกลุ่มบุคคล

ปัญหาสำคัญ ในการโหวตที่ให้อำนาจ สว. มีสิทธิเท่า สส.ซึ่งเป็นตัวแทนของเสียงประชาชนทั้งประเทศ ทั้งที่ สว.มาจากการเลือกโดยสองลุง ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี

ขณะที่กับดัก บางมาตราจะแก้ต้องด้วยการทำประชามติก่อน และแม้ประชาชนทำประชามติแล้วก่อนทูลเกล้าฯ ก็ยังเปิดโอกาสใก้อำนาจที่ไม่ได้มาจากประชาชน สามารถยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยได้ จึงเห็นได้ว่าอำนาจที่แท้จริงไม่ได้อยู่ในมือประชาชนแต่อำนาจอยู่ในมือของ สว.

[ศิธาซัด! รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ปราบโกงไม่ได้จริง]

ที่เห็นชัดคือกลุ่มทุนที่เป็นผู้สนับสนุน พรรคการเมือง จะมีอำนาจในการกำกับความคุม ซึ่งกลุ่มทุนผูกขาดเหล่านี้ จะอยู่หลังพรรคการเมืองจึงทำให้การดำเนินการต่างๆ ไม่เป็นอิสระและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน และยิ่งกำหนดการเข้าสู่อำนาจอย่างเข้มงวดเท่าใด คนดียิ่งไม่กล้าเข้าการเมือง ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เสมือนเป็นการปราบคนดีไม่ให้กล้าเข้าสู่การเมือง

“ที่บอกว่า รธน. ฉบับนี้ปราบโกงนั้นไม่ใช่เลย!

แต่เป็น รธน. ที่ปราบคนดีไม่ให้เข้าสู่การเมือง

และให้พวกตัวเองได้เสวยสุข ได้เสวยอำนาจได้มากกว่าในอดีต “น.ต.ศิธา กล่าว

[#รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเสร็จกี่โมง?!]

แม้การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่เชื่อว่าในท้ายที่สุดจะไม่เสร็จในห้วงเวลาที่ได้คาดการณ์ ในช่วงเดือนเวลาประมาณ 23 เดือน คือเดือนสิงหาคม หรือ กันยายน 2568 แต่เชื่อว่า การดำเนินการจะไปเสร็จในช่วงใกล้ครบอายุรัฐบาล และหน้าตาของรัฐธรรมนูญ อาจไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน ทำให้คนที่ได้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะไม่รีบแก้ไข

“เราไม่ต้องการทราบว่ารัฐธรรมนูญจะเริ่มร่างเมื่อใด แต่ประชาชนต้องการรู้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเสร็จกี่โมง” น.ต.ศิธา กล่าว

ดังนั้นการทำรัฐธรรมนูญแบบคู่ขนานจึงจำเป็นโดยกำหนดกรอบการทำงาน หรือทำรัฐธรรมนูญไปก่อน โดยเฉพาะบางประเด็น บางเรื่องที่เป็นปัญหา โดยให้ดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเป้าหมายที่จะได้รัฐธรรมนูญ สำหรับการเลือกตั้งครั้งใหม่ โดยไม่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดิมที่ผู้มีอำนาจในปัจจุบันได้ประโยชน์ และหลายส่วนได้สร้างปัญหาทางการเมืองและไม่เป็นประชาธิปไตย

[ธรรมนูญประชาชนอีก 1 ทางออก]

ควรมี ‘’ธรรมนูญประชาชน’’ เพื่อเป็นหลักประกันป้องกันการรัฐประหาร โดยสามารถเอาผิดหรือดำเนินการตรวจสอบ ย้อนหลังในวันเวลาที่ประเทศเป็นประชาธิปไตยได้ แม้ คณะรัฐประหาร ซึ่งเป็นรัฏฐาธิปัตย์ในเวลานั้น จะเขียนรัฐธรรมนูญ เพื่อลบล้างความผิดของตนไว้ก็ตาม โดยเฉพาะการตรวจสอบ ย้อนหลังคณะรัฐประหาร ซึ่งหากดำเนินการได้จะสามารถ #หยุดการสืบทอดอำนาจ

ร่วมแบ่งปันนโยบาย:

Facebook
Twitter

ข่าวสารน่าสนใจอื่น ๆ

ข่าวสาร
แถลงการณ์พรรคไทยสร้างไทย รู้สึกกังวลต่อท่าทีอันไม่กระตือรือร้นของ...
ข่าวสาร
"ชวลิต ทสท." เสนอแนะ "นรม." และ "ผู้นำฝ่ายค้าน ฯ" ถอดสลัก "คดีตาก...
ข่าวสาร
"คุณหญิงสุดารัตน์" เล่านาที ประสานทีม เจ็ตสกี้ "เปิ้ล นาคร" ฝ่ากร...
ข่าวสาร
แถลงการณ์พรรคไทยสร้างไทย รู้สึกกังวลต่อท่า...
ข่าวสาร
"ชวลิต ทสท." เสนอแนะ "นรม." และ "ผู้นำฝ่าย...
ข่าวสาร
"คุณหญิงสุดารัตน์" เล่านาที ประสานทีม เจ็ต...
ข่าวสาร
"สุดารัตน์" ฝ่ากระแสน้ำ ลุยแจกถุงยังชีพ ช่...
ติดตามทางโซเชียลมีเดีย