ไทยสร้างไทย ชี้ ต่างชาติยึดตลาด E-commerce ในไทยเบ็ดเสร็จ ทำลายอำนาจการแข่งขันผู้ประกอบการในประเทศ ซุ่มเงียบแห่ขึ้นค่าธรรมเนียมเป็นระลอก ทำผู้บริโภคคนไทยอ่วม จี้ รัฐบาลกำหนดมาตรการกำกับการแข่งขัน-เพดานราคา

ข่าวสาร

นพดล มังกรชัย รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย กล่าวว่า ปัจจุบันตลาด E-commerce ในไทย กลายเป็นหนึ่งในช่องทางการค้าขายสินค้าที่สำคัญของพ่อค้าแม่ค้า on-line ในปัจจุบัน เพราะซื้อง่ายขายคล่อง และยังตอบโจทย์ lifestyles ของผู้บริโภคที่รวมลูกผสมระหว่างโลก on-line และ off-line ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ก็ต้องยอมรับความเจ็บปวดกับการที่ผู้ค้าผู้ขายต้องยอมแลกมากับการที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการขาย (Sales Transaction Fee) ที่ยักษ์ใหญ่แพลตฟอร์มเจ้าตลาดเป็นผู้กำหนดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
.
ยักษ์ใหญ่แพลตฟอร์มข้ามชาติที่เป็นเจ้าตลาด E-commerce และตอนนี้เข้ามายึดตลาดบ้านเราไปอย่างเบ็ดเสร็จแล้ว ที่พวกเรารู้จักคุ้นเคยกันดี ได้แก่ Lazada, Shopee, TikTok ซึ่งในระยะแรกๆ ที่เข้ามาในเมืองไทย ดูเหมือนจะทำตัวสงบเสงี่ยมไม่วางกร้ามมากนัก ที่ผ่านมาเป็นการทำการตลาดด้วยการแข่งขันในสงครามราคาเพื่อสร้างฐานผู้ใช้ โดยในช่วงแรกออกค่าธรรมเนียมให้ผู้ขาย เพื่อดึงดูดให้คนมาขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม ส่งผลให้ประสบภาวะขาดทุนเป็นหมื่นล้านบาทหลายปีติดต่อกัน จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งที่มีฐานผู้ใช้มากขึ้น มีอำนาจต่อรองกับคนขายก็เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในส่วนต่าง เช่น ค่าธรรมเนียมการขาย ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน ค่าธรรมเนียมการจัดส่ง เป็นต้น รวมแล้วพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องเสียค่าธรรมเนียม ราว 15.85% ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
.
จากข้อมูลรายงาน E-commerce in Southeast Asia 2023 ระบุว่า มูลค่าการซื้อขายบนแพลตฟอร์ม E-commerce ในไทย ปี 2565 อยู่ที่ 1.44 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 5.27 แสนล้านบาท) ซึ่งเมื่อเจาะรายละเอียดไปที่ส่วนแบ่งตลาดของแต่ละแพลตฟอร์มจะพบว่า Shopee มีส่วนแบ่งมากสุดที่ 56% ตามด้วย Lazada 40% และ TikTok 4% ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า
ภาพตลาด E-commerce ในไทยเป็นการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการจากต่างประเทศอย่างแท้จริง
.
ถามว่าแพลตฟอร์มข้ามชาติเหล่านั้นยอมขาดทุนอย่างมหาศาลเพื่อแลกกับอะไร นายนพดล ชี้ว่าเพื่อแลกกับการเข้าสู่ตลาดในประเทศ เพื่อทำลายอำนาจการแข่งขันของผู้ประกอบการภายในประเทศ และที่สำคัญคือเพื่อแลกกับการเข้าสู่ข้อมูลลูกค้า รวมไปถึงพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย หรือ lifestyles ของลูกค้า เพื่อนำไปให้ AI ทำการวิเคราะห์กำหนด customer information scoring ทำการตลาดเจาะลูกค้าแต่ละราย ทำให้สามารถทราบถึงความต้องการของลูกค้าอย่างแม่นยำทั้งในรูปปัจเจกบุคคลและกลุ่มลูกค้ารายประเภทการค้า นอกจากข้อมูลลูกค้ายังรวมไปถึงข้อมูลคู่ค้าที่อยู่ในวงโคจรทั้งหมดด้วย พอถึงเวลาที่ได้ข้อมูลทุกอย่างพร้อมเสร็จ ก็พาเหรดกอดคอกันปรับขึ้นค่าธรรมเนียมกันอย่างตามใจชอบ เช่น ในปี 2566 ทั้ง Shopee และ Lazada ขึ้นค่าธรรมเนียม ถึง 2 รอบ
.
ล่าสุด Shopee ประเทศไทย ประกาศปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการขายครั้งใหม่สำหรับกลุ่ม Mall Sellers และ Non-mall Sellers (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีผลตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. 2567 ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมสำหรับ Mall Sellers แบ่งเป็น สินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Items) เป็น 6% จากเดิม 5% ของราคาสินค้า, สินค้าบางประเภทในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (Exceptions of Electronics Items) เป็น 5% หรือ 8% จากเดิม 6% ส่วนสินค้าที่ไม่อยู่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (Non-electronics Items) อยู่ที่ 5-8% จากเดิม 7%
  • ส่วนค่าธรรมเนียมสำหรับ Non-mall Sellers แบ่งเป็น สินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Items) 5% จาก 4%, สินค้าที่ไม่อยู่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (Non-electronics Items) 5% จาก 4%, สินค้าในหมวดหมู่สินค้าแฟชั่น (Fashion Cluster) 6% จาก 5% และสินค้าบางประเภทในหมวดหมู่ย่อยของสินค้าในหมวดหมู่สินค้าแฟชั่น 5% จาก 4% ของราคาสินค้า
    .
    ส่วน Lazada ได้ปรับค่าธรรมเนียมการใช้บริการ Marketplace Service Fee และมีผลตั้งแต่วันที่ 23 ต.ค. 2566 ที่ผ่านมา ในบางหมวดหมู่สินค้า เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องเสียง กล้อง โดรน ฯลฯ) 4% จากเดิม 3%, สินค้าแฟชั่น (กระเป๋า เสื้อผ้า ฯลฯ) 5% จากเดิม 4%, สินค้าอุปโภค-บริโภค 4% จากเดิม 3% และสินค้าทั่วไป 4% จากเดิม 3%
    .
    สำหรับ TikTok Shop ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2567 ได้ปรับขึ้นค่าธรรมเนียมคอมมิชชั่น เดิมคิดอัตราคงที่ 4% มาเป็นการคิดแตกต่างกันหมวดหมู่ย่อยของสินค้า (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) แบ่งเป็นสินค้าแฟชั่น 4.00-5.35%, สินค้าอุปโภค-บริโภค (FMCG) 4.28%, สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 4.28% สินค้าไลฟ์สไตล์ เช่น อุปกรณ์กีฬา เครื่องครัว 4.28%
    .
    ส่วน LINE SHOPPING คิดค่าธรรมเนียม (Service Fee) จากคำสั่งซื้อบนช่องทางสื่อ และแคมเปญ LINE SHOPPING ที่ 3% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตั้งแต่ 15 พ.ย. 2566 เป็นต้นไป แต่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการขายในกรณีที่คำสั่งซื้อเกิดจากการออร์เดอร์ผ่านห้องแชตในแอปพลิเคชั่น LINE หรือผู้ขายเป็นผู้โฆษณาร้านค้าด้วยตนเอง หรือส่งลิงก์ร้านค้าและสินค้าของผู้ขายshop.line.me/@shopbasicid ให้ผู้ซื้อโดยตรง
    .
    ไทยสร้างไทย จึงขอเสนอให้รัฐบาลกำหนดมาตรการกำกับการแข่งขัน-เพดานราคา
    เนื่องจากแพลตฟอร์ม E-commerce รายใหญ่ มีแค่ 2-3 เจ้า ผูกขาดตลาดไว้เกือบหมด ผู้ค้าขายคนไทย รวมถึงผู้บริโภคคนไทยไม่ได้มีตัวเลือกไปมากกว่านี้ ส่วนผู้บริโภคแม้จะมีส่วนดีที่ยังได้รับอานิสงส์จากการที่แพลตฟอร์มเสนอดีลราคาพิเศษ แต่ความน่ากลัวที่เป็นผลกระทบข้างเคียงคือแผนการตลาดจากแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่เหล่านี้มีผลเป็นการทุบร้านค้าปลีกรายเล็กตายหมด ถ้าอยากรอดก็ต้องขึ้นมาขายออนไลน์ แต่แพลตฟอร์มก็ขึ้นค่าธรรมเนียมต่อเนื่อง เวลาขึ้นจาก 1% เป็น 2% ดูเหมือนไม่เยอะ แต่จริง ๆ คือเท่าตัว 100-200% ภาครัฐควรเข้ามากำกับดูแลการขึ้นค่าธรรมเนียมของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายใน และสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ที่มีหน้าที่ควบคุมการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศ จำเป็นต้องป้องกันการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคคนไทยโดยแพลตฟอร์มข้ามชาติ
    .

ขายของออนไลน์ #Ecommerce #พรรคไทยสร้างไทย #ไทยสร้างไทย #ค่าธรรมเนียม #commissionfee

ร่วมแบ่งปันนโยบาย:

Facebook
Twitter

ข่าวสารน่าสนใจอื่น ๆ

ข่าวสาร
แถลงการณ์พรรคไทยสร้างไทย รู้สึกกังวลต่อท่าทีอันไม่กระตือรือร้นของ...
ข่าวสาร
"ชวลิต ทสท." เสนอแนะ "นรม." และ "ผู้นำฝ่ายค้าน ฯ" ถอดสลัก "คดีตาก...
ข่าวสาร
"คุณหญิงสุดารัตน์" เล่านาที ประสานทีม เจ็ตสกี้ "เปิ้ล นาคร" ฝ่ากร...
ข่าวสาร
แถลงการณ์พรรคไทยสร้างไทย รู้สึกกังวลต่อท่า...
ข่าวสาร
"ชวลิต ทสท." เสนอแนะ "นรม." และ "ผู้นำฝ่าย...
ข่าวสาร
"คุณหญิงสุดารัตน์" เล่านาที ประสานทีม เจ็ต...
ข่าวสาร
"สุดารัตน์" ฝ่ากระแสน้ำ ลุยแจกถุงยังชีพ ช่...
ติดตามทางโซเชียลมีเดีย