นายชัชวาล แพทยาไทย สส.ร้อยเอ็ด พรรคไทยสร้างไทย อภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม เพื่อรองรับนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทของรัฐบาลว่า ถนนทุกสายของรัฐบาล มุ่งตรงไปที่นโยบายดิจิทัลวอลเลท เพียงนโยบายเดียว ซึ่งนักวิเคราะห์ ออกมาให้ข้อมูลว่าวิกฤตเศรษฐกิจประเทศไทยครั้งนี้ ต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะครั้งนี้เป็นวิกฤตที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำ ที่สะสมมานาน เป็นวิกฤตของคนจน พี่น้องหาเช้ากินค่ำ พี่น้องเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นชาวสวน ชาวไร่ ชาวนา ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ
.
นายชัชวาล ตั้งข้อสงสัยว่า นโยบาลดิจิทัลวอลเลท 10,000 บาท เป็นสาเหตุ ที่ทำให้การทำงานของหน่วยงานกระทรวง กรม กอง ต่าง ๆ ที่ดูแลแก้ปัญหาให้พี่น้อง ต้องสะดุดไม่เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ หรือไม่ ตัวอย่างเช่น งบประมาณของกรมชลประทาน หน่วยงานที่ดูแลเรื่องน้ำ ปัจจัยการผลิต ในปี 2568 ถูกปรับลดลง เมื่อเทียบจากงบประมาณปี 2567
.
เป็นที่น่าสังเกตว่า งบกรมชลประทานถูกตั้งงบ เพิ่มขึ้น หรือคงที่มาโดยตลอด แต่งบประมาณ ปีที่ผ่านมากลับโดนตัดลดลง พื้นที่เกษตรกรรมประเทศไทยมา 150 ล้านไร่ กรมชลประทานมีอายุ 120 ปี สร้างพื้นที่ชลประทานได้เพียง 30 ล้านไร่ ยังเหลือพื้นที่นอกเขตชลประทานกว่า 120 ล้านไร่ งบถูกลดลงแบบนี้ อีกกี่ปีจะแก้ปัญหาเรื่องน้ำ ให้พี่น้องประชาชนได้
.
ล่าสุดอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำแตก พื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิกว่า 2 ล้านไร่ ในทุ่งกุลากำลังจะได้รับผลกระทบ เพราะเป็นพื้นที่รับน้ำแต่พอน้ำผ่านไป พื้นที่ดังกล่าวก็จะกลับมาแล้งเหมือนเดิม เพราะไม่มีพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ ซึ่งรัฐบาลจะยังมองถึงความจำเป็น ของนโยบายดิจิทัลวอลเลท มากกว่าความทุกข์ร้อนเร่งด่วนของพี่น้องประชาชนที่วิกฤต
.
ขณะเดียวกันยังมีปัญหาความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชนในกลุ่มอาชีพต่างๆที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เกษตรกรผู้เลี้ยงวัว เกิดโรคระบาด ลักลอบน้ำเข้าวัวเถื่อนจนล้นตลาด ส่งออกไปขายภายนอกประเทศไม่ได้ ราคาตกต่ำย่ำแย่ที่สุดเกษตรกรเลี้ยงหมู ต้องทนแบกรับ ต้นทุนอาหาร ที่แพงมาก สวนทางกับ ราคาขายที่ดำดิ่ง พี่น้องชาวสวน ก็ต้องรับมือกับสภาพดินฟ้าที่แปรปรวน ฝนแล้งต้องยอมลงทุนซื้อน้ำลดต้นไม้รักษาผลผลิตไม่ให้เสียหาย พี่น้องเกษตรกรชาวประมง ได้รับผลกระทบจากราคาผลผลิตที่ตกต่ำ มีคู่แข่งเป็นเกษตรกร จากต่างประเทศ
.
ล่าสุดปลาหมอคางดำ เอเลี่ยนสปีชี ระบาดอาระวาดกัดกินทุกอย่างที่ขวางหน้า จนถึงขณะนี้ยังหาตัวคนมารับผิดชอบไม่ได้ และที่เดือดร้อนหนักคือพี่น้องเกษตรกรชาวนา ที่มีต้นทุนการผลิตสูง ปริมาณผลผลิตต่อไร่ กลับน้อยมาก หากเปรียบเทียบกับชาวนาให้ประเทศอื่นๆ ซ้ำร้ายราคาผลผลิต ที่ชาวนาขายกับตกต่ำ จนไม่เห็นผลกำไรจากการทำนา
.
รวมถึงโครงการเงินช่วยเหลือเพื่อลดต้นทุนการผลิตของพี่น้องชาวนาไร่ ล่ะ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ ก็ถูกยกเลิกเพราะรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือพีน้องชาวนาโครงการใหม่ คือ โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ไร่ละ 500 บาทไม่เกิน 20 ไร่ ซึ่งโครงการนี้ พี่น้องชาวนาส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วย จึงหวังว่ารัฐบาลจะทบทวนโครงการ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าผู้มีอำนาจกำลังเอาวิกฤต ความลำบากที่พี่น้องชาวนา เกษตรกร ไปผูกไว้กับนโยบายแจกเงิน ที่ตนมองว่าอาจจะไม่คุ้มค่ากับผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
.
จึงไม่เห็นด้วยกับ ร่าง พ.ร.บ. รายจ่ายเพิ่มเติมฉบับนี้ โดยเฉพาะในสภาวะที่ พี่น้องประชาชน ต้องเผชิญกับปัญหามากมาย แต่รัฐบาลกับให้ความสำคัญกับนโยบายประชานิยมแจกเงิน 10,000 บาท ตนกังวลว่าจะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ประชาชนกลายเป็นผู้แบกรับหนี้ที่ตัวเองไม่ได้ก่อ กว่า 1.2แสนล้านบาท ดังนั้น จึงยากที่จะด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ พร้อมทิ้งท้ายด้วยบทกลอนฝากถึงรัฐบาล โดยระบุว่า
.
“อันวาเงินดิจิตอล จักมันเป็นดอกเเนวได๋
ข้ามหัวชาวนาไทย สิกู้เงินให้มันได้
ไทบ้านนาเขื่อนขาด ท่วมอนาจขาดนายซอย
งบประมาณถึงมีหน่อย ซอยหมู่ข่อยก่อนเป็นหยัง
รัฐบาลเอ้ย รัฐบาลเอ่ย”