“ภัชริ ไทยสร้างไทย” ติง แนวคิด “ทักษิณ” มีแนวคิดซื้อสัมปทานรถไฟฟ้า จากเอกชนมาบริหารเอง อ้างเพื่อให้ประชาชนได้ใช้รถไฟฟ้า 20 บาททุกสาย อาจจะเป็นการอ้างประชาชน แต่เอกชนลูบปากเพราะได้สองเด้ง ได้เงินสดจากการขาย สัมปทานคืนรัฐ โดยไม่ต้องบริหารระยะยาวให้ถึง จุดคุ้มทุน แถมยังได้กินค่าจ้างเดินรถจากรัฐบาลอีกเด้ง จนกลายเป็นภาระการคลัง ที่ต้องวนเอาเงินภาษีประชาชนมาจ่ายหนี้

ข่าวสาร

นายภัชริ นิจสิริภัช คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ และ เหรัญญิกพรรคไทยสร้างไทย กล่าวภายหลังการรับฟัง การแสดงวิสัยทัศน์ของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่ามีประเด็นและหลายเรื่องที่น่าสนใจ พร้อมชื่นชมว่ามีวิสัยทัศน์ดี หลายด้านและหากทำได้ถือเป็นสิ่งดีสำหรับประเทศไทย
.
แต่วิสัยทัศน์ ส่วนใหญ่จะเป็นการฉายภาพเอื้อนายทุนใหญ่ทั้งสิ้น จำเป็นต้องมีการท้วงติง เช่นกรณี ความเห็นต่อการเวนคืนรถไฟฟ้า หรือซื้อสัญญาสัมปทานคืนจากเอกชนเพื่อให้ รัฐเป็นผู้บริหารเอง หรือ จ้างเอกชนบริหาร โดยมีเป้าหมาย การเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายที่หาเสียงไว้
.
ขอตั้งคำถามว่า แนวคิดดังกล่าว ประโยชน์สูงสุด เป็นไปเพื่อประชาชนหรือเพื่อนายทุนเจ้าของสัมปทานแน่ เพราะโดยปกติการลงทุนระยะยาวอย่างรถไฟฟ้า ที่มีมูลค่านับหมื่นล้านหรือหลายหมื่นล้านบาทนั้น เอกชนย่อมแสวงหากำไร แต่ต้องรอในระยะเวลาหนึ่งจึงจะคืนทุน
.
สำหรับค่าโดยสาร คือเงื่อนไขสำคัญที่ระบุไว้ในสัญญาสัมปทาน และเป็นเรื่องปกติที่รัฐจะได้ค่าสัมปทานเก็บรายได้เข้าคลัง โดยเอกชนจะบริหารภายใต้สัญญาระยะยาวซึ่งการลงทุนแบบนี้ ต้องวิเคราะห์ความคุ้มค่าอย่างรอบคอบ หากทำดีมีคนใช้บริการมากก็จะคืนทุนไว แน่นอนว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นการที่รัฐให้สัมปทานกับเอกชน คือการลดความเสี่ยงอย่างหนึ่ง ไม่ต้องแบกภาระเอง ไม่ต้องบริหารเอง
.
กลับกันหากรัฐมีแนวคิดไปเวนคืน หรือ ซื้อกิจการกลับมาบริหารเอง ตามแนวคิดของอดีตนายกทักษิณ เพื่อลดราคาค่าโดยสารให้ เป็นไปตามนโยบายหาเสียง อาจหมายถึงเอาเงินก้อนใหญ่จากภาษีของประชาชนไปให้เอกชน แน่นอนว่าไม่มีใครยอมถูกเวนคืนในราคาขาดทุน นอกจากเอกชนไม่ต้องแบกภาระความเสี่ยงในการคืนทุนได้เงินก้อนโตในการซื้อสัมปทานคืน แถมจะได้เงินจากค่าบริหารจากภาครัฐอีกด้วย
.
“ถ้ารัฐยอมจ่ายสูงซื้อคืนกลับมา มันก็เหมือนเอื้อนายทุนเจ้าของรถไฟฟ้า เพราะตามสัญญากว่าจะได้เงินทุนคืนมันนาน แต่อยู่ๆรัฐมาเวนคืนในระยะเวลาอันสั้น เอกชนลูบปากสบายเลย เมื่อรัฐได้สิทธิบริหาร แน่นอนกำหนดค่าตั๋วเท่าใดก็ได้ เช่น20บาทตลอดสาย แต่หากทำไปแล้วขาดทุน สุดท้ายอาจเหมือน ขสมก.หรือ การรถไฟ ที่มีหนี้สะสมมหาศาล” นายภัชริ กล่าว
.
นายภัชริ ย้ำว่า ท้ายที่สุดรัฐอาจต้องเอาเงินภาษีของประชาชนไปอุ้ม ส่วนคนที่ยิ้มก่อน คือเจ้าของสัมปทานที่รัฐเอาเงินก้อนโตมาซื้อคืน และอาจจ้างบริหารต่ออีก ดังนั้นนโยบายนี้เอกชนอาจได้สองเด้ง จึงขอตั้งข้อสังเกต และความไม่สบายใจว่า ตกลงว่านโยบายนี้เอื้อนายทุนหรือประชาชนแน่
เพราะหากเกิดปัญหาการขาดทุนสะสม รัฐจะไปขายคืนเอกชน คงไม่มีใครกล้าซื้อในราคาสูง สุดท้ายก็จะกลายเป็นภาระทางการคลังและต้องนำเงินภาษีของพี่น้องประชาชนไปชำระคืน
.
ทั้งที่จริงยังมีวิธีอื่นที่จะลดค่าโดยสารลง ทั้งการที่รัฐคืนค่าส่วนแบ่งรายได้ให้ประชาชน รวมทั้ง เจรจากับเอกชนให้ลดกำไรบางส่วนจากการเก็บค่าโดยสารแพง โดยเฉพาะสายกลางเมืองที่ได้สัมปทานมาจนคืนทุนไปนานแล้ว ทั้งยังได้ต่อสัญญาที่ได้เปรียบรัฐจนเป็นภาระค่าโดยสารที่แพงเกินจริงจนถึงทุกวันนี้

ร่วมแบ่งปันนโยบาย:

Facebook
Twitter

ข่าวสารน่าสนใจอื่น ๆ

ข่าวสาร
โฆษกไทยสร้างไทย ไม่เชื่อ นโยบายรัฐบาล "อุ๊งอิ๊ง" พลิกเศรษฐกิจของป...
ข่าวสาร
โฆษกไทยสร้างไทย เชื่อนายกใหม่น่วม เดินการเมืองเลอะเทอะ ต้องเจอศึก...
ข่าวสาร
"ชวลิต ทสท." ฟันธง คนไทยไม่ได้ใช้ รธน.ใหม่ กติกาใหม่ในการเลือกตั้...
ข่าวสาร
โฆษกไทยสร้างไทย ไม่เชื่อ นโยบายรัฐบาล "อุ๊...
ข่าวสาร
โฆษกไทยสร้างไทย เชื่อนายกใหม่น่วม เดินการเ...
ข่าวสาร
"ชวลิต ทสท." ฟันธง คนไทยไม่ได้ใช้ รธน.ใหม่...
ข่าวสาร
"ไทยสร้างไทย" หนุน ข้อเรียกร้อง "สหภาพแรงง...
ติดตามทางโซเชียลมีเดีย