นายรณกาจ ชินสำราญ คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคไทยสร้างไทย ย้ำถึงความกังวลต่อนโยบายเติมเงิน 1หมื่นบาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล ซึ่งผู้มีอำนาจอ้างว่าจะก่อให้เกิด 4 พายุหมุนกระแทกเม็ดเงิน 5 แสนล้านบาท กระจายรายได้ไปทุกชุมชนว่า ข้อเท็จจริงที่ประชาชนต้องรู้คือนโยบายแจกเงินหมื่น มีผลกระทบต่อสถานะทางการคลังของประเทศ สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น โดยเศรษฐกิจจะเติบโตเพียง 1%กว่าๆของ GDP จากนั้นก็จะกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง จึงทำให้โอกาสที่เศรษฐกิจจะหมุนเวียนเป็นพายุหมุนในระยะยาวเกิดขึ้นได้ยาก
.
พร้อมย้ำด้วยว่า ที่มาของงบประมาณ 500,000 ล้านบาทนั้น ไม่ตรงที่หาเสียงไว้กับประชาชน เพราะมาจากการกู้ ผ่านงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2 ปีงบประมาณ บวกกับการขอกู้ยืมจากธ.ก.ส. เป็นการสร้างหนี้สาธารณะที่มีมากอยู่แล้ว ให้กับเด็กเกิดใหม่ทุกคนเพิ่มอีก
.
ที่สำคัญการแจกเป็นดิจิทัลไม่แจกเป็นเงินสด ถือว่ารัฐไม่ฟังเสียงเรียกร้องจากพี่น้องประชาชนที่แสดงความต้องการชัดเจนว่าอยากได้เงินสด เพื่อนำไปเป็นทุนหมุนเวียนต่อยอดการสร้างอาชีพ ทำให้เกิดคำถามตามมามากมายว่าเป็นการทุจริตเชิงนโยบายหรือไม่
.
เพราะการทำระบบ แอพพลิเคชันใหม่ ใช้เงินหลายพันล้าน ให้บริษัทใดทำ เป็นการเอื้อพวกพ้องหรือไม่ ? ธนาคารใหญ่ทำระบบหลายปีกว่าจะทำได้ นี่มีเวลาไม่กี่เดือน จะสำเร็จได้ยังไง ? และเหตุใดไม่ใช้แอพพลิเคชัน เป๋าตังค์ ที่มีฐานประชากร 40 กว่าล้านคนอยู่แล้ว ? ซึ่งประชาชนก็มีความคุ้นเคย
.
แถมมีค่าธรรมเนียมในการแลกเงิน 2 ต่อ จากการกู้เป็นเงินสดและแปลงเป็นเงินดิจิทัล และสุดท้ายต้องแปลงจากดิจิทัล กลับมาเป็นเงินบาท รัฐต้องสูญเสียงบประมาณอีกเท่าใด และให้บริษัทใดเป็นผู้ทำ ถ้าคิดค่าธรรมเนียมที่ 2% รัฐจะต้องสูญเสียงบประมาณแบบฟรีๆถึง 20,000 ล้านบาท เงินนี้ จะไปเข้ากระเป๋าใคร ?
.
ดังนั้นหากรัฐบาลจริงใจต่อประชาชน ต้องฟังเสียงและความต้องการของพี่น้องประชาชน ควรรับฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย นักเศรษฐศาสตร์ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งแนะนำว่าควรแจกเฉพาะกลุ่มเปราะบางประมาณ 17-20 ล้านคน โดยแจกเป็นเงินสดเท่านั้น
.
#ไทยสร้างไทย
#ดิจิทัลวอลเล็ต #เงินดิจิทัล
#ของแพงค่าครองชีพพุ่ง #แอปเป๋าตัง #ธกส #หนี้สาธารณะ