ข้อเสนอ 5 ด้านจากพรรคไทยสร้างไทย #ปฏิวัติการศึกษา หลังข้อมูลย้อนหลังเชิงสถิติพบ เด็กหลุดจากระบบการศึกษาปีละกว่าแสนคน ปัญหาหลักของการศึกษาไทย คือ การไม่สร้างแรงจูงใจให้เด็ก เด็กไทยเรียนหนักแต่ศักยภาพแพ้ต่างชาติ ระบบการศึกษาไทยไม่ได้เปิดโอกาสให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสะท้อนผ่านการสอบ PISA ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมาลดลงต่อเนื่อง
โดยเฉพาะปีล่าสุด ปี 2565 พบว่าผลคะแนนสอบของเยาวชนไทยลดต่ำลงทุกทักษะ
สภาพเศรษฐกิจภายในครัวเรือนและสุขภาพจิตของเด็กที่เครียดและกดดัน อยู่ในภาวะซึมเศร้า ไร้ความสุข สะท้อนปัญหาเกิดจากสังคมกดทับ แบกรับความคาดหวังพ่อแม่ ต้องละทิ้งความฝันเป็นตัวของตัวเอง ความไม่ปลอดภัยและไม่มั่นใจในโรงเรียน เช่น การไม่ถูกกล้อนผม ที่ผ่านมาภาครัฐมีปัญหาเรื่องของโครงสร้าง ระบบสวัสดิการรัฐที่ไม่โอบอุ้มให้ “เด็กทุกคนมีความฝัน” และทำความฝันนั้นให้เป็นจริงได้
🔴”ไทยสร้างไทยเสนอ 5 แนวทางปฏิวัติการศึกษา”
พรรคไทยสร้างไทย จึงเสนอแนวทางในการปฏิวัติการศึกษา ต่อรัฐบาลโดยเริ่มจาก
1) กำหนดเป้าหมายหลัก
เน้นให้เด็กค้นหาตัวตนได้เร็ว เน้นกระบวนการสอนให้สามารถหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์เองได้ สร้างเด็กให้สามารถปรับตัวในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วได้ ลดภาระเวลาและเงิน เพื่อผลักดันให้เข้าสู่ตลาดแรงงานได้เร็วขึ้น
2) เปลี่ยนระยะเวลาการศึกษา โดยลดเวลาเรียนลง 3-4 ปี เพื่อให้เด็กสามารถเรียนจบภายในช่วงอายุ 17-19 ปี ทำให้เป็นภาระพ่อแม่น้อยลง สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานทดแทนผู้สูงวัยได้เร็วขึ้น
3) ปรับหลักสูตรการเรียนให้ทันสมัย กระชับ และยืดหยุ่น ตอบโจทย์เด็ก ให้มีทักษะและประสบการณ์ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ โดยเริ่มตั้งแต่ระดับประถม
4) ปรับวิธีการศึกษา ให้ความสำคัญกับเจตคติ (Attitude) เป็นอันดับแรก ตามด้วยทักษะ (Skill) และความรู้ (Knowledge) ส่งเสริมการเรียน Onsite และ Online ฝึกงานจากของจริง ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และกิจกรรมนอกเวลา โดยลดเวลาเรียนในห้องเหลือเพียงแค่ 3 วัน เพื่อให้เด็กได้ ค้นหาตัวตนจากการทำงานร่วมกับผู้อื่น
5) งบประมาณ 67 ที่เข้าสู่การพิจารณาขิงสภา พรรคไทยสร้างไทยขอเสนอ ปรับงบประมาณและการบริหารจัดการศึกษา ซึ่งปัจจุบันงบลงไปที่สถานศึกษาไม่ถึงมือนักเรียนและผู้ปกครอง ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อเพิ่มโอกาสและคุณภาพในการศึกษาอย่างเท่าเทียม ที่สำคัญ ต้องมีตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานร่วมกับรัฐบาล เพื่อช่วยกันชี้ถึงปัญหา ข้อบกพร่อง เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณ ตรงจุดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้เรียน
.